เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล จ.หนองคาย พ.ศ. ๒๔๙๒
|
ส่งข้อความ
|
|
ชื่อพระเครื่อง |
เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล จ.หนองคาย พ.ศ. ๒๔๙๒ |
รายละเอียด |
เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล จ.หนองคาย พ.ศ. ๒๔๙๒ เนืัอทองแดง(กะไหล่ทอง)
เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล จ.หนองคาย พ.ศ.๒๔๙๒ (ทองแดงกะไหล่ทอง)
ท่านได้รับสมญานาม (เทพเจ้าแห่งภูลังกา)
เหรียญรุ่นแรกของท่าน จัดได้ว่าหาได้ยากยิ่ง นานๆจะมีมาให้ชมกัน
First edition medal Phra Ajahn Wang Thitisaro, Tham Chai Mongkol Temple, Nong Khai Province, 1929 (Copper, Gold, Gold)
You have received the nickname (God of Phu Lanka)
First edition of your coin Classified as extremely rare Very rarely will be seen.
เหรียญรุ่นแรก พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร วัดถ้ำชัยมงคล จ.หนองคาย พ.ศ.๒๔๙๒ (ทองแดงกะไหล่ทอง)
ท่านได้รับสมญานาม (เทพเจ้าแห่งภูลังกา)
เหรียญรุ่นแรกของท่าน จัดได้ว่าหาได้ยากยิ่ง นานๆจะมีมาให้ชมกัน
First edition medal Phra Ajahn Wang Thitisaro, Tham Chai Mongkol Temple, Nong Khai Province, 1929 (Copper, Gold, Gold)
You have received the nickname (God of Phu Lanka)
First edition of your coin Classified as extremely rare Very rarely will be seen.
ท่านได้รับสมญานาม (เทพเจ้าแห่งภูลังกา)
เหรียญรุ่นแรกของท่าน จัดได้ว่าหาได้ยากยิ่ง นานๆจะมีมาให้ชมกัน
ออกบรรพชา
ท่านได้เล่าถึงการออกบวชของท่านเมื่ออายุ ๑๓ ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า เป็นเหตุการณ์พิเศษกว่าการออกบวชของท่านผู้อื่น จึงขอเล่าตามที่ท่านเล่าให้ฟังดังนี้
มารดาของท่านเป็นคนใจบุญ เข้าวัดจำศีลฟังธรรมและถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณรที่วัดบ้านหนองคูทุกวัน วันหนึ่งพระอาจารย์ทองสา ที่อยู่ที่วัดนั้นถามถึงเด็กชายวังว่า เขาทำอะไรบอกให้เขามาบวชด้วย หลังจากมารดาของท่านบอกให้ทราบว่า ท่านอาจารย์ที่วัดถามหาขอให้ไปบวชด้วย เท่านั้นเองท่านก็บอกทันทีว่าไม่บวช แม้มารดาบิดาจะขอร้องบอกกล่าวอย่างไร ท่านก็ยืนยันคำเดียวว่าไม่บวชอยู่นั้นเอง หลายวันต่อมา ท่านได้ออกไปเลี้ยงวัวควายกับบรรดาเด็กทั้งหลายเหมือนทุกวันท่านคิดว่า ถึงอย่างไรบิดามารดาคงจะนำเราไปบวชแน่นอน ดังนั้นจะไม่กลับเข้าบ้านอีก ได้ฝากวัวควายที่ไปเลี้ยงไล่กลับบ้านกับเพื่อนฝูง ตัวท่านเองอาศัยนอนที่บนเถียงนา ซึ่งมีฟางข้าวใส่ไว้เกือบเต็ม ท่านก็นอนในระหว่างกองฟางเหล่านั้น เถียงนานี้ห่างจากบ้านประมาณ ๑ กิโลเมตรครึ่ง เมื่อเพื่อนเด็กเลี้ยงควายทั้งหลายออกไปในวันใหม่ ท่านก็ได้อาศัยกินข้าวน้ำจากเด็กเหล่านั้น ท่านอยู่ในสภาพนั้น ๔-๕ คืน
ส่วนทางวัด ท่านอาจารย์ทองสาได้ถามถึงว่า เถียงนานั้นเป็นของใคร อยู่ในที่นาใคร เมื่อท่านทราบแล้ว ภายหลังจากฉันข้าวเสร็จวันหนึ่งได้พาเณรตัวโตๆ ๓ รูปออกไปด้วย เมื่อออกไปถึงเถียงนานั้นแล้ว ท่านจึงบอกให้เณร ๓ รูปยืนเป็นแถวกั้นอยู่ทางบันได แล้วท่านเรียกออกไปว่า “ นายวัง ” ๓-๔ ครั้ง ขณะนั้นท่านนอนอยู่ในนั้น พอได้ยินเสียงเรียกก็เข้าใจทันทีว่าคราวนี้คงมาตามเราไปบวชแน่ จึงคิดจะหนีไปให้พ้น เมื่อรู้ว่ามีเณรยืนอยู่ทางบันได ท่านจึงผลักเถียงนาทางด้านหลัง แล้วกระโจนลงจากเถียงนา วิ่งหนีสุดกำลัง สามเณรทั้ง ๓ รูปจึงวิ่งตามไปจับตัวไว้ กว่าจะทันก็วิ่งผ่านไปหลายไร่นา เมื่อจับได้แล้วจึงเอาผ้าอาบน้ำมัดที่ข้อมือแล้วท่านก็ตามกลับมาโดยดี เมื่อกลับถึงวัดแล้วพระอาจารย์ก็ให้โกนผมทันที แล้วนำไปบวชกับท่านพระครูวิจิตร วิโสธนาจารย์ ที่วัดบ้านหนองคูนั้นเองหลังบวชแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่นั้น ๑ พรรษา
เรียนคาถาอาคมจากปู่
ท่านพระอาจารย์วังเกิดมาในตระกูลหมอปะกำช้าง ปู่ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมขลัง ท่านจึงเรียนรู้คาถาอาคมจากปู่ตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก เมื่อตอนเป็นสามเณรท่านอยากเห็นวิชาวัวธนูครูหน้าน้อย จึงขอร้องให้ปู่ทำให้ดู ปู่ก็เอาไม้ไผ่มาทำหน้าไม้เล็กๆ เหลาลูกให้พอดี จากนั้นก็พาหลานจัดทำขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ บูชาครู เมื่อถึงกลางคืนจึงนำลูกหน้าไม้ไปทำพิธีลงคาถาใส่ ปู่ท่านทำพิธีอยู่ ๗ คืน เมื่อครบพิธีแล้ว จึงบอกให้หลานมาดู โดยให้คนเอามีดไปทำเครื่องหมายไว้ที่ต้นไม้ใหญ่กลางป่าต้นหนึ่ง จึงยิงหน้าไม้ออกไปโดยยิงทะลุหลังคาบ้านที่มุงด้วยหญ้าคาในตอนกลางคืน ก็บังเกิดเสียงดังสะเทือนเลือนลั่น รุ่งเช้าพระอาจารย์วังก็ได้ไปดูต้นไม้ที่ทำเครื่องหมายไว้ ก็ปรากฏว่าเห็นลูกหน้าไม้เสียบอยู่ตรงนั้นพอดี ซึ่งวิชาวัวธนูครูหน้าน้อยนั้นเป็นวิชาฆ่าคนแพร่หลายในลุ่มแม่น้ำโขง คนโบราณสมัยก่อนชอบเรียนกันมาก
ออกเดินธุดงค์กัมมัฏฐาน
หลังจากออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์ทองสาได้พาเดินวิเวกหาที่สงบและแสวงหาครูบาอาจารย์ เดินไปเรื่อยๆ แถวจังหวัดอุบลราชธานี นครพนม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี เมืองเลย ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ นิสัยของท่านชอบอยู่ตามภูเขามากเป็นพิเศษ
หลายปีต่อมา ท่านอาจารย์พาเที่ยววิเวกผ่านมาแถวจังหวัดสกลนคร หนองคาย ได้พบกับถิ่นฐานบ้านเมืองแถวนี้ยังมีที่รกร้างว่างเปล่า มีทุ่งว่างป่าดงหนาแน่น ยังเป็นสภาพป่าดงดิบอยู่ตามธรรมชาติเดิมมากมาย ไม่เหมือนกับทางจังหวัดอุบลฯ เป็นทุ่งว่าง แต่แห้งแล้ง มีหมู่ชนหนาแน่น ที่จะทำมาหากินก็คับแคบ จึงเป็นเหตุให้พระอาจารย์ทองสาและพระอาจารย์วัง คิดถึงสภาพความเป็นอยู่ของบิดามารดาและญาติซึ่งอัตคัดขัดสนด้านการครองชีพ จึงคิดจะโยกย้ายครอบครัวของบิดามารดาและญาติๆ ทั้งหลาย ขึ้นไปหาทำเลที่เหมาะกับการทำไร่ทำนาทางนี้
เมื่อได้รับฟังการชักนำชี้ชวนของท่านแล้ว จึงตกลงโยกย้าย ครอบครัวหลายครอบครัวจากบ้านหนองคู โดยเอาข้าวสารและสิ่งของบรรทุกใส่เกวียน ส่วนคนก็เดินตามไปเรื่อยๆ ได้ผ่านหมู่บ้านมาหลายแห่งจนถึงหมู่บ้านศรีชมชื่น ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย เห็นว่าเป็นที่เหมาะสมที่จะตั้งหลักฐานในที่นั้น ชาวบ้านที่นั้นเขาก็ยินดีต้อนรับให้อยู่ด้วย แล้วก็ได้แบ่งปันที่จะสร้างบ้านและที่จะทำไร่ทำนาให้จนเป็นที่พอใจ จึงได้ตั้งใจว่าจะสร้างหลักฐานครอบครัวต่อไปที่หมู่บ้านแห่งนี้
เมื่อถึงหน้าฝน อันมีฝนตกชุก ซึ่งเป็นของปกติของถิ่นนี้ พวกบิดามารดาและพี่น้อง ลูกเล็กเด็กแดง ซึ่งเป็นคนเคยอยู่แต่ที่ว่าง แต่คราวนี้มาอยู่ที่เป็นป่าดงดิบ มีความชุ่มชื้นและไข้ป่าชุกชุม จึงเป็นเหตุให้เป็นไข้ป่ากันเกือบทุกคนแทนที่จะได้ก่อร่างสร้างตัวตามความที่ตั้งใจไว้ กลับพากันเป็นไข้หนักบ้างเบาบ้าง ติดเชื้อไข้ป่าแต่ไม่มีหมอมียาเหมือนสมัยนี้ดังนั้นจึงเป็นไข้เรื้อรังตลอด ในปีต่อมามีคนตายไปก็มี ผู้ไม่ตายก็ไม่มีกำลังแข็งแรงพอที่จะทำนาทำไร่ได้ จึงเป็นเหตุให้คณะที่มาด้วยกันแยกย้ายกันไป คือบางครอบครัวก็กลับไปที่บ้านหนองคูตามเดิม บางครอบครัวอยู่ได้ก็อยู่ไปโดยเฉพาะครอบครัวพระอาจารย์วังไม่ยอมกลับ เมื่ออยู่มาได้สองสามปีบิดาและน้องก็ตาย ยังเหลือมารดาและน้องชาย คือนายส่าน ต่อมาให้เปลี่ยนชื่อว่านายเวียง ให้ชื่อมีตัว ว เช่นเดียวกับชื่อของท่าน เพื่อคิดว่าจะไม่ให้ตายตามกันไป
ต่อมามารดาและน้องสาวน้องชาย ย้ายจากบ้านนั้น ไปอยู่กับหมู่ที่เคยมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งไปอยู่ที่บ้านหนามแท่ง ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ปีต่อมามารดาและน้องสาวก็ได้ตายจากไปอีก ยังเหลือแต่เด็กชายเวียงซึ่งยังเล็กอยู่อายุ ๓-๔ ปี ท่านได้เอาน้องชายมาอยู่วัด ให้พวกแม่ชีช่วยเลี้ยงดูให้ ทำให้ท่านได้รับความกระเทือนใจเกิดความสังเวชสลดใจเป็นอย่างมาก ความหวังว่าจะช่วยเหลือพยุงฐานะการทำมาหากินให้ดีขึ้น จึงได้ย้ายครอบครัวของบิดามารดาญาติพี่น้องมาตั้งที่ใหม่ แต่กลับมาเป็นการโยกย้ายบิดามารดาญาติพี่น้องมาตาย ท่านจึงตั้งใจที่จะปฏิบัติพระธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่งขึ้นไป
ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
ต่อมาพระอาจารย์ทองสา ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่พาท่านเดินธุดงค์กัมมัฏฐานมาด้วยกันหลายปี กลับมาลาสิกขาไปจากท่าน เหลือแต่ท่าน เพียงผู้เดียว จึงเป็นโอกาสให้เป็นอิสระที่จะเดินกัมมัฏฐานตามใจชอบ ท่านจึงได้แสวงหาครูบาอาจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือในสมัยนั้น เมื่อมีโอกาสอันเหมาะ ท่านได้เข้าไปกราบหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล กราบขอเป็นศิษย์ท่าน หลวงปู่เสาร์ก็รับเป็นศิษย์ แล้วก็ได้รับการอบรมจากท่านเป็นอย่างดี
ปรารถนาพุทธภูมิ
เมื่อท่านได้รับการอบรมแล้วก็เร่งบำเพ็ญสมาธิภาวนาให้ยิ่งขึ้นอย่างแรงกล้า และได้เกิดความรู้สึกปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในภายหน้า หรือเรียกปรารถนาพุทธภูมินั้นเอง ท่านจึงได้เข้ากราบเรียนเรื่องนี้ให้หลวงปู่เสาร์ทราบหลวงปู่เสาร์ได้ชี้แจงว่าการปรารถนาพุทธภูมินี้ กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องใช้เวลาสร้างบารมีมาหลายกัป หลายภพหลายชาติ เนิ่นนานมากท่านได้แนะนำให้เลิกการปรารถนานี้เสีย แต่ พระอาจารย์วังก็ได้กราบเรียนท่านหลวงปู่ว่ามีความมุ่งมั่นรักในพุทธภูมินี้มาก แม้จะมีผู้มีอำนาจมาบังคับว่าถ้าไม่ยอมถอนจากความปรารถนานี้ จะฆ่าให้ตาย ก็ไม่ยอมถอน แม้จะฆ่าให้ตายก็ยอม เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านหลวงปู่เสาร์ก็พลอยอนุโมทนาด้วย และบอกว่าขอให้ตั้งใจต่อไป ในเวลาต่อมา ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่าเมื่อการภาวนาของท่านก้าวหน้าไปจนชำนาญทางด้านสมถกัมมัฏฐานแล้ว เมื่อยกจิตพิจารณาวิปัสสนากัมมัฏฐานมากขึ้นจิตจะสะดุด แล้วประหวัดถึงความปรารถนาภูมิทันที ไม่สามารถไปต่อได้มากกว่านั้น แต่ท่านก็ยังคงมุ่งมั่นในพุทธภูมินี้เรื่อยไป
อุปสมบท
เมื่อท่านมีอายุครบ ๒๐ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๗๕ ท่านได้ไปอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยมีพระครูสารภาณพนมเขต (จันทร์ เขมิโย, ซึ่งภายหลังมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพสิทธาจารย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาพรหมา โชติโก ป.ธ.๕ (ซึ่งภายหลังมีสมณศักดิ์เป็นพระราชสุทธาจารย์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
แสวงหาครูบาอาจารย์
เมื่อท่านบวชพระแล้ว ท่านก็เร่งความเพียรให้ยิ่งๆ ขึ้น เมื่อมีครูบาอาจารย์ใด ที่จะเป็นที่พึ่งได้ในสมัยนั้น ท่านก็ไปกราบขอปวารณาตัวเป็นศิษย์ เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้เคยอยู่จำพรรษากับท่านด้วย ดังนั้นท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จึงถือว่าท่านพระอาจารย์วังเป็นศิษย์ของท่าน รูปหนึ่ง และด้วยความเป็นคนเอาจริงต่อการปฏิบัติของท่านพระอาจารย์วัง ท่านหลวงปู่ฝั้น อาจาโร มักสอนลูกศิษย์รูปอื่นๆ ว่า “ ให้ทำเหมือนท่านวัง เอาจริงเอาจังเหมือนท่านวัง ” อย่างนี้เสมอ ดังนั้นผู้เขียนประวัติหลวงปู่ฝั้น อาจโร เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพจึงกล่าวว่า ถ้าไม่เอาศิษย์ผู้ที่สำคัญ คือท่านอาจารย์วัง ไปลงในประวัติด้วย การเขียนประวัติคงไม่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้จึงมีรูปและประวัติย่อลงในหนังสือประวัติหลวงปู่ฝั้นด้วย และอีกท่านหนึ่งคือหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านก็ถือว่าพระอาจารย์วังเป็นศิษย์ของท่าน ดังคราวหนึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้ากราบหลวงปู่อ่อน และแนะนำตัวว่าเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์วัง ท่านหลวงปู่อ่อนบอกว่า ท่านวังเป็นศิษย์ของท่านด้วย แม้แต่ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านก็เคยเข้ารับฟังโอวาท และอยู่ร่วมด้วยหลายคราว
จริงจังในการปฏิบัติธรรม
ในการจำพรรษาปีหนึ่ง ท่านเล่าว่าได้ตั้งสัจจะอธิษฐานเป็นข้อวัตรว่าจะไม่นอนตลอดสามเดือน มีเพื่อนร่วมกันอยู่รูปหนึ่งคือพระอาจารย์อุยทั้งสองรูปสัญญากันว่าภายในกุฏิห้ามมีหมอน ถ้านั่งสมาธิก็ให้นั่งตรงกลางห้อง ไม่ให้นั่งพิงฝา แล้วเอาใบบัวมาห่อน้ำเป็นถุง ผูกโยงไว้บนศีรษะกลางห้อง มีเชือกผูกไว้ที่ถุงนั้นให้ปลายเชือกข้างหนึ่งย้อยลงมาข้างฝา ให้ผู้อยู่ข้างล่างจับเชือกนั้นได้ ถ้าหากว่าผู้ใดนั่งสมาธิออกอาการสัปหงก อีกผู้หนึ่งมาพบเข้าในขณะนั้น ก็จะจับเชือกนั้นดึงกระตุกเชือกนั้นก็จะปาดถุงใบบัวนั้นขาด น้ำในนั้นทั้งหมดก็จะร่วงลงมาตรงกับผู้นั่งสัปหงกนั้นพอดี ผู้นั้นก็จะเปียกทั่วกาย เท่ากับได้อาบน้ำนั้นเอง คืนนั้นถ้าได้ถูกอาบน้ำเช่นนั้น ก็ได้เปลี่ยนผ้ากันใหม่ ทำให้หายง่วงและได้ทำความเพียรต่อไป ในพรรษานั้นได้ถูกอาบน้ำคนละหลายครั้ง ในอีกพรรษาหนึ่งท่านอธิษฐานเดินจงกลมวันละหลายชั่วโมง เมื่อออกพรรษาแล้ว ทางที่เดินจงกรมเป็นร่องลึกลงไปเท่าฝ่ามือ
คราวหนึ่งท่านเล่าให้ฟังว่าท่านได้ไปวิเวกคนเดียว เดินผ่านป่าดงไปไกล ทั้งๆ ที่มีไข้จับสั่นและไม่มียาจะกินด้วย เมื่อเดินไปก็สั่นไปตลอดทาง บนบ่าสะพายบาตร ย่าม กลดมุ้ง เห็นว่ามันคงหนักไม่พอ มันจึงสั่น จึงได้เอาผ้าอาบน้ำสะพายเอาหินแม่รัง ที่มีอยู่ตามโคกเพื่อจะให้มันหายสั่น ถึงเพิ่มน้ำหนักเข้าอีกเช่นนั้น ก็ยังสั่นอยู่นั้นเอง เมื่อร่างกายได้เดินอย่างหนักผสมกับไข้ด้วย จึงทำให้อ่อนเพลียมาก ตกลงว่าจะพักเสียก่อน แล้วจึงแวะออกจากทาง เข้าไปภายใต้ร่มไม้น้อยต้นหนึ่ง เอาผ้าอาบน้ำฝนปู เอาห่อสังฆาฏิเป็นหมอน คลี่จีวรห่มแต่ก็ยังหนาวอยู่ จึงเอามุ้งห่มทับอีกชั้นหนึ่งมุ้งนั้นเป็นสีขาว เมื่อคลุมทั้งตัวเช่นนั้นแล้ว ก็คล้ายกับกองสัตว์ตายแล้วนั่นเอง แล้วท่านก็กำหนดสมาธิไปเรื่อย แล้ท่านได้หลับไปประมาณสองชั่วโมงไข้ก็สร่างพอดี ท่านจึงเอาผ้าที่ห่มออกได้เห็นอีแร้งตัวหนึ่งจับอยู่บนต้นไม้ที่อยู่ใกล้ๆ นั่นเอง มันคงนึกว่าเป็นกองสัตว์ตาย และได้อาหารแล้ว มันมาจับอยู่บนนั้นนานเท่าไรไม่ทราบ ท่านจึงได้พูดกับมันว่ายังไม่ตายหรอกคุณ ขอไว้ก่อนคราวนี้
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ถวายตัวเป็นศิษย์
พ.ศ. ๒๔๗๙ และ ๒๔๘๐ จำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ อำเภอสว่างแดนดิน (ปัจจุบันคือ อำเภอพังโคน) จังหวัดสกลนคร โดยมีพระอุดมสังวร วิสุทธิเถร(พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) ขณะยังเป็นสามเณร อยู่จำพรรษาด้วย ต่อมาหลังออกพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านได้เดินจากอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยสารเณรวัน (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) สามเณรสุณา สามเณรสุพี เดินไปทางอำเภอ ศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ไปถึงวัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อำเภอ ศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นเวลาที่พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ท่านกำลังเตรียมการถวายเพลิงศพท่านอาจารย์คำดี ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน เมื่อพระอาจารย์วังไปถึงจึงกราบขอรับภาระช่วยในการตัดเย็บสบงจีวรที่จะใช้ในงานนี้ทั้งหมดแต่ผู้เดียว ท่านได้เร่งเย็บผ้าทั้งกลางวัน และกลางคืน เพื่อจะให้เสร็จทันในวันงาน แล้วก็ทำเสร็จทันงานพอดี
เมื่องานเพลิงศพเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์บุญมา มหายโส ซึ่งเป็นคนบ้านสามผงนั้นเอง ได้ขอร้องพระอาจารย์วังให้อยู่เฝ้าวัดโพธิ์ชัยก่อน จนกว่าท่านพระอาจารย์บุญมาจะกลับจากการติดตามท่านพระอาจารย์เกิ่งไป วิเวการาม ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ดังนั้นท่านจึงอยู่จำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัย ๒ ปี คือ พ.ศ. ๒๔๘๑ และ๒๔๘๒ ส่วนพระอาจารย์บุญมา เมื่อกลับมาก็ไม่ได้อยู่ที่วัดโพธิ์ชัยแต่ย้ายไปอยู่ที่ วัดอรัญญิกาวาส อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมแทน
เมื่อออกพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านตั้งใจจะออกธุดงค์กัมมัฏฐานเหมือนที่เคยทำมา มีผู้ติดตามไปด้วย คือ สามเณรคำไพ ผงราช สามเณรเพ็ง นนทจันทร์ สามเณรสุข ทิธรรมมา สามเณรทองดี ปทุมมากร และสามเณรทุ่ม ยอดพันปา ส่วนสามเณรวันได้กราบลาไปศึกษาด้าน ปริยัติธรรม ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร คณะของท่านได้พากันออกเดินทางไปทางทิศตะวันตกของบ้านสามผง ไปถึงบ้านศรีเวินชัย ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าบ้านดงพระเนาว์ ห่างจากวัดโพธิ์ชัย ประมาณ ๑.๘ กิโลเมตร เมื่อไปถึงบ้านดงพระเนาว์ ชาวบ้านทุกคนซึ่งสมัยนั้น มีบ้านเรือนประมาณ ๔๐-๕๐ หลังคาเรือน ได้พร้อมใจกันขอกราบอาราธนานิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษาที่หมู่บ้านดงพระเนาว์นี้
ช่วย(เปรตตาโด)ให้ไปเกิด
พระเดชพระคุณหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม เล่าให้ผู้เขียนบันทึกตอนนี้(พระวินิต สุเมโธ) ฟังว่าในหน้าแล้งปีหนึ่งหลวงปู่วัง ได้ไปเที่ยวธุดงค์ภาวนาอยู่ที่วัดดงหม้อทอง มีครูบานู อยู่บ้านนาสิงห์ได้มาอยู่ภาวนาด้วย อยู่มาวันหนึ่ง ครูบานูก็ได้ขอกราบลาไปเยี่ยมบ้านเกิด ท่านก็อนุญาตให้ไป เมื่อครูบานูไปถึงบ้านก็ได้พักที่วัดร้างในหมู่บ้าน ชาวบ้านเมื่อรู้ว่า ครูบานูกลับมาก็ออกไปถามไถ่ตามธรรมเนียมของคนอีสานก่อนกลับก็ได้บอกครูบานูว่า “ครูบ๋าวัดนี้มีเปรตได๋มันหลอกจนญาคูจั๋วน้อยอยู่บ่ได๋ วัดจั่งได้ฮ้าง คำญาคูย่านให้เข้าเมือนอนในบ้านเด้อ” ฝ่ายครูบานูก็เชื่อมั่นในตนเองว่าไม่กลัวก็เลยบอกชาวบ้านว่า “ผีอยู่ใสเป็นจั๋งได๋บ่ย่านดอก พากันเมือโลด” ชาวบ้านเห็นครูบานูไม่กลัวก็พากันกลับบ้าน
พอตะวันตกดินเหตุการณ์แปลก ๆ ก็เริ่มเกิดขึ้นให้ครูบานูได้เห็น กลองเพลที่แขวนอยู่ใต้ถุนกุฎิที่ครูบานูใช้จำวัดก็ดัง ตึง ตึง ขึ้น สิ้นเสียงกลองเพลก็มีเสียงเหมือนคนหว่านหินขึ้นไปบนหลังคาสังกะสีซ่า ซ่า ซ่าไม่หยุด ฝ่ายครูบานูก็ข่มจิตข่มใจตัวเองเต็มที่อยู่ในห้องตามลำพัง ฉับพลันบานประตูทางเข้าก็ถูกผลักเสียงดังอี๊ด อี๊ด ๆ อย่างช้าๆ เข้ามา ครูบานูก็ลุกขึ้นจะไปปิดไว้เช่นเดิม เดินไปถึงประตู ๆ ก็ยังปิดสนิทอยู่ ก็กลับเข้ามาไม่นานประตูก็ถูกผลักเข้ามาอีกคราวนี้ครูบานูสติขาดเสียแล้วกระโจนออกทางหน้าต่างร้อง ผี ผี ผี ไม่หยุดปากวิ่งเข้าไปในหมู่บ้าน วันนั้นครูบานูต้องอาศัยจำวัดที่บ้านญาติโยมในหมู่บ้าน
วันรุ่งขึ้นหลังจากฉันอาหารเช้าเสร็จครูบานูก็ลาญาติโยมกลับมาหาหลวงปู่วัง ที่ดงหม้อทองเล่าเรื่องเปรตตาโดให้ท่านฟังและขอร้องให้ท่านไปช่วยชาวบ้านด้วย เมื่อหลวงปู่วังท่านได้ฟังคำบอกเล่าเรื่องราวจากครูบานูแล้วท่านก็เก็บบริขาร ชวนครูบานูกลับไปที่บ้านนาสิงห์อีกไปถึงเวลาใกล้ค่ำครูบานูก็จัดเก็บบริขาร จัดปูที่นอนให้ท่านในที่ ๆท่านต้องการ ชาวบ้านเมื่อทราบข่าวว่าครูบานูพาครูบาอาจารย์กลับมาที่วัดอีก ก็ชวนกันออกไปอุปัฎฐากรับใช้ตามธรรมเนียมคนอีสานที่เห็นพระสงฆ์องค์เจ้า เข้ามาพักในหมู่บ้านตน เมื่อได้สนทนากันสมควรแก่เวลาแล้ว ชาวบ้านก็ขอลากลับชาวบ้านก็ถามท่านว่า “ บ่ย่านผีบ่ญาคูผีมันฮ้ายได๋มันหลอกจนพวกข้าน้อยบ่ได้นอน บางมื้อยามแลงพวกข้าน้อยตำพริก ฟักลาบ มันก๋าไปเคาะฮาวฮั้วแข่งปานวงดนตรี” หลวงปู่เมื่อท่านได้ฟังท่านก็หัวเราะและบอกกับชาวบ้านว่า “ให้มันมาโลดมาจักร้อยผีนี่” ฝ่ายชาวบ้านได้ยินท่านพูดอย่างนั้นต่างก็หัวเราะพร้อมพูดเชิงเย้ยแบบไม่เชื่อ “ ญาคูแล่นเข้าบ้านแบบญาคูนูเน้อ” “ฮ่วย! ข้อยบ่แม่นครูบานูเน้อ !” เมื่อชาวบ้านกลับหมดแล้วท่านก็ลงเดินจงกรมที่ชาวบ้านเตรียมให้ เมื่อสิ้นแสงตะวัน ความมืดก็ปกคลุมท่านก็จุดเทียนไขขึ้นที่ปลายทางจงกรม ท่านเดินไปรู้สึกเหมือนคนเดินตามหลังตลอดเวลา ไปสุดทางจงกรมหันหลังกลับก็มีแว๊บไปซ่อนอยู่ด้านหลัง เมื่อออกเดินมันก็เดินตาม เป็นอยู่อย่างนั้น ท่านไม่สนใจกับมัน เมื่อเลิกจงกรมแล้ว เข้าที่นั่งภาวนา เสียงกลองเพลที่แขวนอยู่ใต้ถุนก็เริ่มดัง ตึง ตึง ตึง ขึ้นเลิกจากตีกลอง เสียงหว่านหินขึ้นหลังคาสังกะสีดัง ซ่า ซ่า ซ่า สลับกันอยู่อย่างนั้น รบกวนท่านอยู่ตลอดคืนจนกระทั่งไก่ขันตอนเช้ามันจึงเลิก วันที่สองเหตุการณ์ยังเป็นอยู่เช่นเดิมท่านเดินจงกรมมันก็เดินตาม จนท่านรู้สึกรำคาญจึงบอกมันไปว่า “ เซามึงเซาเด้อ” มันก็ไม่เชื่อท่านจึงแก้สายประคบที่เอวออกพร้อมตวาดว่า “กูสิเมี้ยนมึงมื้อนี้” เปรตตาโดตกใจหนีขึ้นต้นฝรั่ง หลวงปู่จึงเอาสายประคตผูกรอบๆ ต้นฝรั่งไว้ทำให้เปรตตาโดลงมาหลอกหลอนรบกวนไม่ได้ อยู่สองวัน ตอนกลงาวันท่านไปสังเกตดู เห็นกิ่งฝรั่งไหว ยวบไปยวบมาเหมือนมีคนอยู่บนนั้น เช้าวันที่สามท่านจึงแก้สายประคตออก เมื่อเปรต ตาโดถูกปล่อยยิ่งอาละวาดหนัก จนชาวบ้านไม่ได้หลับไม่ได้นอน ท่านจึงเรียกชาวบ้านให้มาประชุมปรึกษาและสอบถามถึงต้นเหตุ ชาวบ้านจึงเล่าให้ท่านฟังว่าเดิมนายโดเป็นคนไม่มีหลักแหล่ง ติดยาฝิ่น เข้ามาอาศัยหลับนอนอยู่ในวัด เมื่อไม่มีเงินซื้อยาฝิ่นก็ขโมยเอาเสื่อ เอาหมอนตลอดผ้าห่อคัมภีร์นำไปขายเพื่อซื้อยาฝิ่น ต่อมาก็ลงแดงตายภายในวัดนี้ หลังทราบสาเหตุ หลวงปู่วังก็ถามชาวบ้านว่า “ซุมหมู่เจ้าอยากให้ผีเปรตนายโดนั้นได้ไปผุดไปเกิดอยู่บ่” ชาวบ้านก็บอกกับท่านว่า “โอ๊ยอยากหันแหล่วขะน่อยซ่อยหมู่ขะน่อยแน่ ญาคูให้เฮ็ดแนวใด๋กะให้บอกมา” ท่านจึงแนะนำให้หาสิ่งของเท่าที่นายโดนำไปขายมาแล้วไปนิมนต์พระในละแวกนั้นมาเพื่อให้ครบองค์สงฆ์ ชาวบ้านก็พร้อมเพียงกันจัดหาสิ่งของมารวมกันที่หอแจก (ศาลาการเปรียญ) เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม ท่านพระอาจารย์วังเป็นผู้นำสวดชัยมงคลคาถาจากนั้นก็พากล่าวนำถวายสิ่งของคืนให้แก่สงฆ์ โดย พระอาจารย์วังกล่าวนำว่าของทุกอย่างที่นายโดเอาไป บัดนี้ได้นำมาชดใช้ให้แล้วไม่ให้มีโทษ ส่วนที่เอาไปแล้วก็ยกให้นายโด ถ้านายโดรับรู้แล้วจงได้มารับเอาส่วนบุญที่ได้กระทำให้แล้วในวันนี้ และขอให้อนุโมทนาด้วยเถิด พระอาจารย์วังกล่าวจบก็บังเกิดเสียงดังตูมขึ้น เงาดำทะมึนก็ผุดขึ้นสูงตระหง่านท่วมหลังคาศาลา เวลาในขณะนั้นยังไม่มืดสนิทนัก ความอลหม่านก็เกิดขึ้นในทันที ชาวบ้านหญิงชายแตกฮือเข้าไปหาพระ ไม่รู้ใครเป็นใคร จนพระอาจารย์วังร้องบอกว่า “บ่ต้องย่านอาตมาอยู่นี่บ่ต้องย่าน” ชาวบ้านจึงมีสติกลับมา เปรตตาโดปรากฏให้เห็นอยู่ชั่วขณะหนึ่ง จึงอันตรธานหายไป พระอาจารย์วังพักอยู่ที่นั่นต่ออีกสามวันเมื่อทุกอย่าง กลับสู่ปกติท่านจึงลาชาวบ้านกลับมาบำเพ็ญภาวนาที่ดงหม้อทองตามเดิม
เสือใหญ่ที่ดงชมพู
พอถึงเดือน ๑๑ ออกพรรษา พระอาจารย์วังก็พาสามเณร ตาผ้าขาว เที่ยววิเวกตามสถานที่ต่างๆ ผ่านบ้านต้อง ของหลง ดอนเสียด นาสิงห์ นาแสง บ้านเกียด ชมพูพร ภูสิงห์ ภูวัว พักแรมภาวนาคราวละหลายๆวัน มีสามเณรสุบัน ชมพูฟื้น สามเณรสุพิศ เหมื้อนงูเหลือม สามเณรใส ทิธรรมมา สามเณรทัน และเด็กชายเมฆไปด้วย พอเสบียงใกล้จะหมด พระอาจารย์วังก็พาคณะกลับ ขากลับลงจากภูวัวก็เจอกับหมีใหญ่ที่กำลังกินน้ำผึ้งบนคบไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่อยู่ริมห้วยอย่างสบายอารมณ์ เมื่อคณะเดินเข้ามาใกล้ ต่างก็พากันหยุดดูหมี ส่วนตาผ้าขาวแกเป็นคนคะนองปาก จึงร้องถามหมีว่า “เฮ็ดอีหยัง” ทำให้หมีตกใจ กระโดดลงจากต้นไม้วิ่งหายลงไปในหุบห้วย พระอาจารย์วังที่อยู่ด้านหน้าจึงหันมาดุคณะที่ไม่สำรวมวาจา จากนั้นท่านก็เร่งคณะให้รีบเดินเพื่อให้ลงพ้นเขาก่อนตะวันตกดิน เมื่อมาถึงป่าราบดงชมพู ท่านจึงสั่งคณะหยุดหาที่พัก เพราะเป็นเวลาใกล้ค่ำแล้ว เมื่อทุกคนจัดสถานที่พักของตนเองเสร็จก็มารวมกันอยู่ที่พักของท่าน เพื่อรับฟังคำสั่งจากท่าน คืนนั้นพระอาจารย์วังสั่งทุกคนให้อยู่รวมกัน ห้ามออกจากเขตที่ท่านกำหนดไว้ เพราะคืนนี้จะมีผู้มาเยี่ยมในตอนกลางคืน อย่าพากันประมาท ให้ทุกคนภาวนาแผ่เมตตาไปให้ทั่วสารทิศ เมื่อท่านพระอาจารย์วังกำชับทุกคนแล้ว ท่านก็เข้าทางจงกรม
คุณตาสุบัน (สามเณรสุบัน) ได้เล่าว่า คืนนั้นเดือนหงายเวลาล่วงเข้าสองทุ่ม เสียงเสือจากภูวัวและดงชมพูก็คำรามไปทั่ว บวกกับสายลมหนาวเดือนสิบเอ็ด จึงทำให้บรรยากาศของคืนนั้นดูน่ากลัวที่สุด บรรดาสามเณรและตาผ้าขาวต่างก็นั่งตัวแข็ง เหงื่อไหลโชกอยู่ในกลด ทั้งๆ ที่เป็นหน้าหนาว ส่วนพระอาจารย์วังก็เดินรัตนะจงกลมรอบๆ บริเวณที่คณะพักแรม อย่างไม่หวั่นไหวในเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า เมื่อเสียงร้องของเสือเข้ามาใกล้ที่พักของคณะธุดงค์มันก็เงียบ มันคงแอบย่องเข้ามาใกล้ๆ คุณตาสุบันแขวนกลดอยู่ใกล้ๆ พระอาจารย์วัง เพราะเป็นเณรอุปัฏฐาก ได้เห็นพระอาจารย์วังล้มนอนในท่าสีหไสยาสน์ ห่างจากเสือประมาณ ๓ วา เสือกับพระต่างก็จ้องหน้ากันอยู่เป็นเวลานาน จนพระอาจารย์วังบอกกับเสือว่า “อาตมามาแสวงหาโมขธรรม บ่ได้มาเบียดเบียนไผ อาชีพไผอาชีพมัน เจ้าจงไปซะ” เสือก็คำรามลั่น แล้วกระโจนเข้าป่าหายไป สามเณรทันตกใจถึงที่สุด จนปัสสาวะไหลแบบไม่รู้สึกตัว
ปลอบขวัญชาวบ้านไล่โรคห่า
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ พระอาจารย์วังได้พาสามเณรคำพันธ์ ปทุมมากร(ท่านเจ้าคุณพระจันโทปมาจารย์) ตอนนั้นอายุ ๑๔ ปี กับเด็กวัดชื่อ เด็กชายทัน คนบ้านนาต้อง เที่ยววิเวกไปทางอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์วังได้พาสามเณรคำพันธ์และเด็กชายทันหยุดพักแรมทำความเพียรอยู่ที่บ้านดอนแดงโพนไค อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ในปีนั้นเกิดอหิวาตกโรค มีชาวบ้านล้มตายทุกวัน พระอาจารย์วังก็ได้พาชาวบ้านทำพิธีทำบุญสวดชำระบ้านโดยท่านให้ชาวบ้านปลูกปะรำขึ้นกลางหมู่บ้าน นำหิน นำทรายมากองไว้ในปะรำพิธี เมื่อชาวบ้านหาของที่พระอาจารย์วังต้องการมาครบแล้ว ในตอนกลางคืนชาวบ้านก็มารวมกันที่ปะรำกลางหมู่บ้านที่จัดเตรียมไว้ เมื่อได้ฤกษ์แล้วท่านก็พาสามเณรคำพันธ์สวดพระพุทธมนต์จนครบทุกสูตรก็เป็นอันว่าพิธีในตอนกลางคืนเป็นอันแล้วเสร็จ ชาวบ้านต่างก็แยกย้ายกันกลับ พอรุ่งเช้าของวันใหม่ ชาวบ้านก็ทำบุญถวายภัตตาหารท่านพระอาจารย์วังและสามเณรคำพันธ์ พระอาจารย์วังก็ให้ชาวบ้านกล่าวคำถวายอาหารพร้อมกับอุทิศส่วนบุญให้สรรพสัตว์ ผู้ตกทุกข์ ตลอดจนดวงวิญญาณต่างๆ ที่สถิตอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้นมาอนุโมทนารับเอาส่วนบุญที่ชาวบ้านพร้อมกันทำให้ จากนั้นท่านก็ฉันอาหาร เมื่อฉันเสร็จแล้ว พระอาจารย์วังก็ปั้นข้าวเหนียว ๔ ก้อน โตเท่าจอมนิ้วก้อยแล้วเขียนคาถาใส่กระดาษห่อหุ้มปั้นข้าวเหนียวทั้ง ๔ ก้อนไว้ แล้วบอกให้ชาวบ้านไปเอาปืนเพลิงมา ๑ กระบอก เมื่อได้ปืนมาแล้วท่านก็เริ่มหว่านหิน หว่านทรายขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้าน โดยเริ่มจากทิศตะวันออกให้ยิงปืนขึ้นฟ้า ๑ นัด ก่อนยิงพระอาจารย์วังก็เอาปั้นข้าวเหนียวที่ได้ทำไว้หย่อนลงไปในกระบอกปืนแล้วจึงบอกให้ยิง แต่ชาวบ้านยิงอย่างไรก็ยิงไม่ออก จนท่านบอกให้เทเอาก้อนข้าวเหนียวที่อยู่ในกระบอกปืนออก ปืนจึงยิงออก ท่านพระอาจารย์วังทำอย่างนี้ทั้ง ๔ ทิศ ทุกทิศก็เหมือนกันหมด คือปืนยิงไม่ออก เมื่อท่านได้ทำพิธีนี้ช่วยชาวบ้านแล้วก็ปรากฏว่าโรคภัยต่างๆ ก็หายไปจากหมู่บ้านดอนแดงโพนไค ชาวบ้านที่เคยล้มตายทุกวันก็ไม่มีปรากฏให้เห็นอีก
นักเทศน์นักสอน
พระอาจารย์วังเป็นพระนักเทศน์ที่มีโวหารปฏิภาณจับจิตจับใจ ผู้ได้ฟัง เมื่อครั้งที่ท่านยังเที่ยวธุดงค์ ไปในที่ต่างๆ นั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งได้ ปักกลดพักแรมภาวนาอยู่ในหมู่บ้านคริสต์ โดยเลือกเอาป่าท้ายหมู่บ้าน เป็นที่ปักกลด เช้าก็เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านได้ข้าวเหนียวสามปั้นพร้อมพริกเกลือ ทั้งหมู่บ้านมีชาวบ้านใส่บาตรอยู่สามครอบครัว เด็กๆ ในหมู่บ้านที่ออกไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไม่เคยเห็นพระธุดงค์ก็พากันมา มุงดูท่าน ใหม่ๆ เด็กๆ ก็ยืนดูอยู่ห่างๆไม่กล้าเข้าใกล้ อยู่ไปนานวัน ความสนิทคุ้นเคยระหว่างท่านกับเด็กก็เกิดขึ้น ทีนี้ท่านก็จะเล่านิทานแฝงคำสอนให้เด็กๆ ฟังโดยหยิบยกเอาความทุกข์ของแม่ระหว่างอุ้มท้องไปจนถึงเลี้ยงดูแลให้เจริญเติบโต เด็ก ๆ ได้ฟังก็เกิดความซาบซึ้ง ร้องให้ก็มี เมื่อกลับไปบ้านก็นำไปเล่าให้พ่อแม่ฟังทุกวัน ในที่สุดพ่อแม่ของเด็กๆ เหล่านั้นก็อยากจะรู้ว่าเรื่องที่ลูกนำมาเล่าสู่ฟังทุกวันเท็จจริงอย่างไร ก็ชวนกันไปร่วมรับฟังกัน ไปกับลูกๆ เมื่อไปถึงพวกเขาก็นั่งอยู่ห่าง ๆ ไม่กราบไม่ไหว้ มีความเหนียมอายเก้อเขิน ท่านพระอาจารย์วังก็หาอุบายพูดคุยให้เกิดความสนิทสนม เมื่อสบช่องทางท่านก็เริ่มเทศน์เริ่มสอนทันที โดยหยิบยกเอาเรื่องบาปบุญคุณโทษ นรก สวรรค์ มาเทศน์สั่งสอนจนพวกเขาเกิดความรู้ความเข้าใจ หันมานับถือพระพุทธศาสนา รับเอาศีลห้าประการไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เมื่อสมควรกับเวลาแล้ว ท่านพระอาจารย์วังก็ร่ำลาชาวบ้านเที่ยวจาริกไปสู่ที่อื่น เพื่อสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ผู้เกิดมาร่วมโลกต่อไป
สยบนักเลง
ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๙-๒๔๘๐ พระอาจารย์วังได้จำพรรษาอยู่วัดอรัญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ อำเภอสว่างแดนดิน(ปัจจุบันเป็นอำเภอพังโคน) จังหวัดสกลนคร ที่หมู่บ้านนี้มีนักเลงโตประจำหมู่บ้านคนหนึ่ง ชื่อนายพุฒ เป็นคนไม่กลัวใคร วัดไม่เข้า พระเจ้าไม่เคารพ ชอบต่อไก่ ไม่สนใจกับใครทั้งสิ้น ตอนเช้าออกบิณฑบาตพระอาจารย์วังจะเจอกับนายพุฒเสมอ ท่านต้องเป็นผู้หลบทางให้แก่นายพุฒตลอด เพราะถ้าไม่หลบ นายพุฒคนนี้ก็จะเดินชนจริงๆ เช้าวันหนึ่งเหตุการณ์ที่ทุกคนคาดไม่ถึงก็เกิดขึ้น พระอาจารย์วังกลับจากบิณฑบาต ก็พบนายพุฒระหว่างทาง พอนายพุฒเดินเข้ามาใกล้ท่านก็ส่งบาตรให้พระที่อยู่ด้านหลัง แล้วแย่งเอาไก่จากมือนายพุฒเดินเข้าวัดไปเฉย นายพุฒจึงจำเป็นต้องเดินตามพระอาจารย์วังเข้าไปในวัด เพื่อตามเอาไก่ต่อตัวเก่งคืน เช้าวันนั้นอาหารคาวหวานตลอดจนผลไม้มีมากเป็นพิเศษ เมื่อพระอาจารย์วังขึ้นบนศาลาท่านก็นั่งอุ้มไก่ไม่ยอมปล่อย ส่วนนายพุฒเมื่อตามมาถึงก็ไม่ยอมกราบไหว้พระ พร้อมกับทวงเอาไก่ “ญาคู เอาไก่ข้อยมา” พระอาจารย์วังท่านก็ไม่ให้ แต่ได้พูดกั |
ราคาปัจจุบัน |
- |
จำนวนผู้เข้าชม |
4233 ครั้ง |
สถานะ |
บูชาแล้ว |
|
โดย |
|
ชื่อร้าน |
(กอล์ฟ + มน) พระเครื่อง
|
URL |
|
เบอร์โทรศัพท์ |
0903569057
|
ID LINE |
Golf (ID LINE:Golf6), (มน ID:090-3569057)
|
|
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
|
1. ธนาคารกรุงเทพ / 125-4-59948-1
|
|
กำลังโหลดข้อมูล
|
หน้าแรกลงพระฟรี
|
|